วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้น้ำยาแอร์ R-407C ทดแทน R-22 ในระบบเครื่องปรับอากาศ

แอร์16
เทคโนโลยี เครื่องปรับอากาศ ได้ถูกสร้างขึ้นและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาแต่ในช่วงไม่นานมานี้เริ่มมีการรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งน้ำยา แอร์ ที่เราเคยใช้กัน เช่น R-11, R-12, R-22, R-502 นั้น เมื่อเกิดการรั่วซึมหรือปล่อยทิ้งในชั้นบรรยากาศแล้วเกิดการสะสมในชั้นบรรยากาศมากๆ จะเกิดผลกระทบต่อโลกมากขึ้นตามลำดับ

ในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะการเปลี่ยนมาใช้น้ำยา แอร์ R-407C ทดแทน R-22 ซึ่งจะกล่าวถึงคุณสมบัติของน้ำยา แอร์ R-407C, ความดันและอุณหภูมิ ประสิทธิภาพในการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ และการทดแทนกับอุปกรณ์เดิมซึ่งใช้ R-22
แอร์15
คุณสมบัติของน้ำยา แอร์ R-407Cเกิดจากการผสมของ HFC-32/HFC-125/HFC-134a23/25/52% โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นสารไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ODP = 0 (Ozone Depletion Potential) ซึ่งตามสนธิสัญญามอนทริออลบังคับให้ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้ว ยกเลิกการผลิตน้ำยาที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ เช่น CFC-12 ในปี พ.ศ. 2553 และต้องลดกำลังการผลิตลงเป็นลำดับ R-407C มีชื่อทางเคมีว่า Difluoromethane/Pentafluoroethane/Terafluoroethane สูตรทางเคมี มีค่าการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก GWP (Global Warming Potential) ต่ำที่สุดคือ 1600 เมื่อเทียบกับน้ำยา แอร์ R-22 = 1700 และ R-410A = 1890
R-407C มีคุณสมบัติเป็นสารผสมแบบซีโอโทรปิค Zeotropic Blend คือ ที่ความดันค่าหนึ่งสารนี้จะมีจุดเดือดเป็นช่วง ๆ ไม่เหมือนสารเดี่ยว เช่นน้ำยา แอร์ R-22 ที่ความดันค่าหนึ่งก็จะมีจุดเดือดที่อุณหภูมินั้นเพียงค่าเดียว
แอร์14
จุด Dew Point ใช้ในการอ่านค่าความดันหรืออุณหภูมิที่เป็นไออิ่มตัว Saturated Vapor Pressureหรือ Superheat อ่านค่าความดันจากจุดนี้ที่อุณหภูมิน้ำยาแอร์ มากกว่า 100C (500F)จุด Bubble point ใช้ในการอ่านค่าความดันหรืออุณหภูมิที่เป็นของเหลวอิ่มตัว Saturated Liquid Pressure หรือSubcooling อ่านค่าความดันจากจุดนี้ที่อุณหภูมิน้ำยาต่ำกว่า 100C (500F)
Temperature Gllde หรือ การเดือดเป็นช่วงอุณหภูมิ เนื่องจากน้ำยา แอร์ R-407C เกิดจากการผสมหลายชนิดจึงทำให้สารผสมที่มีจุดเดือดต่ำกว่าเกิดการระเหยก่อนชนิดอื่น แต่ได้มีการทดสอบในห้องปฎิบัติการเพื่อทดสอบการรั่วของน้ำยา แอร์ R-407C ที่อุณหภูมิต่าง ๆ แล้วพบว่าการแยกตัวของสารผสมนั้นมีผลน้อยมากกับประสิทธิภาพของ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากสารผสมของ 407C นั้น มีจุดเดือดที่ใกล้เคียงกันมากและเมื่อมีการรั่วที่อุณหภูมิที่เราใช้งานตามปกติ เช่น250-400 C นั้น สารผสมดังกล่าวจะเดือนและระเหยตัวได้หมดแล้ว
ความดันและอุณหภูมิ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานได้ทันที อ้างอิงค่าที่ 100 Cที่จุด Dew point และ Bubble point เป็นหลักในการหาค่าความดันจากตารางความดันจะเห็นได้ว่า High Side ของน้ำยา แอร์ R-407C จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้กับน้ำยา แอร์ ดังกล่าวต้องมีความแข็งแรงเพียงพอ จุดเชื่อมต่ออาจเกิดการรั่วซึมได้ง่ายกว่าเดิม แต่นี้เป็นจุดเสียเพียงจุดเดียวของน้ำยา แอร์ R-407C
ประสิทธิภาพในการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ เมื่อมีการเปลี่ยนอุณหภูมิคอยล์เย็นใช้คอมเพรสเซอร์ตัวเดิม
แอร์13
แอร์12
จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ จะเปลี่ยนแปลงหากอยู่ในช่วง High – Medium Temp อาจลดลงประมาณ 10 – 15% หากเป็นงาน Low temp อาจลดลงถึง 20% ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำยา แอร์ ต้องระวังในจุดนี้ด้วย มิฉะนั้นอาจทำให้มีผลต่ออุณหภูมิที่ต้องการได้
การทดแทนกับอุปกรณ์เดิมซึ่งใช้น้ำยา แอร์ R-22
1.Compressor ควรเช็ค Cooling Capacity, Heat Rejection Power Input กับ Supplier หรือจาก Selection Program ว่าเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
2.Lubricantเนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นของคอมเพรสเซอร์เดิมเป็นแบบ Mineral Oilซึ่งใช้ได้กับน้ำยา แอร์ R-12, R-22 นั้น ไม่สามารถนำมาใช้กับน้ำยา แอร์ R-407C, R-134a, R-410A ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันชนิดใหม่คือเป็นน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ชนิด POE Polyesters Oil
3.Thermostatic Expansion Valve จากค่าของความดันลดคร่อมวาล์วจากตารางความดัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหาก High Side สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรเช็คความสามารถของวาล์วด้วยว่ายังใช้ได้อยู่หรือเปล่า แต่โดยมากมักใช้ TXV ของน้ำยา แอร์ R-22 แทนได้เลย เนื่องจากมีการชดเชยค่ากันได้ หรือสามารถปรับแต่ง Superheat ได้เช่นกัน
4.Refrigerant Piping จะได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย แต่โดยรวมมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไปจากเดิม
5.Uni Cooler, Condenser. นอกจากคอมเพรสเซอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจะต้องตรวจสอบสมรรถนะและล้างระบบให้สะอาดก่อนเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์และน้ำยาใหม่ การเช็คประสิทธิภาพการทำความเย็นของอุปกรณ์และเปลี่ยนความร้อน ทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ Selection Program เพียงแต่เปลี่ยนชนิดน้ำยา แอร์ จาก R-22 เป็น R-407C ค่าต่างๆ ที่ต้องการเช่น .Cooling capacity, Heat Reject, Power Input ก็จะแสดงมาให้ครบ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำอย่างไร เมื่อแอร์ไม่เย็น

แอร์1
ข้อแนะนำสำหรับการตรวจสอบแอร์วิธีง่ายๆ แต่ได้ผลด้วยตัวท่านเอง
ในช่วงฤดูร้อน ปันหาที่มารบกวนใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของอาคารต่างๆ
มากที่สุดคือ การได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าแอร์ไม่เย็น "ฮัลโหล
ฝ่ายช่างไช่ไหมครับ ตอนนี้แอร์ไม่เย็นเลย ห้องทำงานประธานฯ
ร้อนจะตายอยู่แล้ว ช่วยมาดูขึ้นมาดูเดี๋ยวนี้ได้ไหม"
 แอร์3
เสียงตามสายแจ้งแอร์ไม่เย็นมักจะมีอารมณ์ไม่เย็นแฝงมาด้วย
เพราะอากาศรอบๆตัวก็ไม่เย็น แถมยังโดนเจ้านายอารมณ์เสียใส่
อีกต่างหาก เมื่อได้รับแจ้งแอร์ไม่เย็น สิ่งที่ช่างเกีอบทุกคนต้องดู
เป็นสิ่งแรกคือเทอร์โมสตาตตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าตั้งสูงเกินไป
ก็ปรับลดลงมา ก็เป็นอันหมดปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่โชคดีขนาดนั้น
เพราะเทอร์โมสตาต มักถูกจะตั้้งไว้อยู่้ที่ 22-23 องศาเซลเซียส
(หรือต่ำกว่า) แต่อุณหภูมิในห้องยังสูง 29-30 องศาเซลเซียสอยู่
มาถึงตอนนี้ช่างเกีอบทั้งร้อยก็จะตั้งเทอร์โมสตาตต่ำลงไปอีก
บางที่ก็บิดกันจนสุด โดยมีความหวังเล็กๆน้อยๆว่ามันจะช่วยให้เย็น
ขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วมันไม่ช่วยอะไร เพราะถ้าเครื่องปรับอากาศ
ปกติดีอยู่ ก็จะต้องทำความเย็นตามที่ตั้งไว้เดิมได้อยู่แล้ว ไม่ต้องมาตั้งกัน
ลงไปอีก ถ้าท่านเคยพบปัญหาลักษณะนี้ บทความนี้อาจช่วยท่านได้ในการ
ในการตรวจสอบไปที่ละขั้นตอน เพื่อให้รู้แน่ว่าปัญหาแอร์ไม่เย็น เกิดจาก
อะไรกันแน่ แล้วจะแก้ไขถูกจุด เหมือนกับเกาได้ถูกที่คัน
เมื่อพบปัญหาแอร์ไม่เย็นให้เริ่มตรวจสอบตามหัวข้อดังนี้
ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย
การตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายทำได้โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์
ถ้าจะให้ดีควรเป็นแบบดิจิตอล ซึ่งจะวัดได้แม่นยำและรวดเร็วกว่า
วิธีการวัดควรจะวัดให้ใกล้กับหน้ากากจ่ายลมเย็นให้มากที่สุด ถ้าจะให้ดีควรยืน
เข้าไปวัดในหน้ากากจ่ายลมเลย แต่ต้องระวังไม่ให้หัววัดสัมผัสกับหน้ากาก
การตรวจสอบ
1.ถ้าวัดได้ 10-15 ํC ถือว่าปกติ
2.ถ้าวัดได้สูงกว่า 15 ํC ถือว่าสูงกว่าปกติ ให้ตรวจสอบดังนี้
การตรวจสอบทั่วไป
- ตรวจสอบว่ามี flesh airm เข้ามากเกินไปหรือไม่
- ตรวจสอบว่าท่อลมกลับรั่ว และดูดลมร้อนเข้ามาหรือไม่
- ตรวจสอบว่าในช่องฝ้า หรือในจั่วมีรอยรั่วให้ลมร้อนเข้ามาหรือไม่
ในกรณีที่ดุดลมกลับเหนือฝ้า
แอร์แบบ Spilt type
- ตรวจสอบว่าน้ำยาหมดหรือไม่
- ตรวจสอบว่าคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนสกปรกหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางทางระบายลมร้อนหรือไม่
- ตรวจสอบว่าลมร้อนถูกดูดย้อนกลับหรือไม่
แอร์แบบน้ำเย็น
-ตรวจสอบอัตราไหลของน้ำเย็นว่าตรงตามข้อกำหนดหรือไม่
(ปกติจะต้อง 24 gmp/ตัน)
- ตรวจสอบว่าอุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องว่าสูงกว่าข้อกำหนดหรือไม่
(ปกติจะมีค่า 45 ํF)
- ตราจสอบว่าคอยล์สกปรกหรือไม่
หากตรวจสอบตามรายการด้านบนแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ
ก็อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องปรับอากาศมีขนาดทำความเย็นไม่เพียงพอ
หรือเครื่องมีขนาดเล็กเกินไปนั้นเอง ทั้งนี้ขอให้ตรวจสอบ
ปริมาณลมจ่ายในข้อถัดไป และแก้ไขให้มีลมจ่ายมาขึ้น
ก็อาจจะทำให้ห้องเย็นขึ้นได้ หากเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปไม่มากนัก
ตรวจสอบปริมาณลมจ่ายของแอร์
การวัดปริมาณลมจ่ายทำโดยวัดความเร็วลม แล้วนำไปคูณกับพื้นที่
ของหน้ากากจ่ายลมของแอร์ เครื่องวัดความเร็วลมมีหลายแบบ
แต่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องแบบใบพัด ซึ่งมีความแม่นยำและราคาไม่แพง
สำหรับหน้ากากลมขนาดใหญ่ ควรวัดความเร็วลมหลายๆจุด
แล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน สำหรับหัวจ่ายลมติดเพดาน จะสะดวกกว่า
ถ้าทำกรวยไปครอบแล้วต่อคอลงมาถึงระดับที่วัดได้ง่าย
แอร์2
การตรวจสอบ
ตรวจสอบปริมาณลมว่าน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่มีแบบ
หรือข้อกำหนดให้พิจารณาดังนี้
1. ห้องทั่วไป ควรมีปริมาณลมจ่าย 15-30 cfm/ตารางเมตร
2. ห้องติดริมกระจก ควรมีปริมาณการจ่ายลม 30-40 cfm/ตารางเมตร
เมื่อพบว่าปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปให้ตรวบสอบดังนี้
- ตรวจสอบว่าแผงกรองอากาศของแอร์อุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบว่าความเร็วรอบของพัดลมต่ำกว่ากำหนดหรือไม่
หรือตรวจสอบว่าสายพานสลิปหรือไม่
- ตรวจสอบว่าลมไปออกห้องอื่นๆมากเกินหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีท่อลมรั่วตามตะเข็บรอยต่อหรือไม่หรือไม่
- ตรวจสอบว่าท่อลมอ่อนฉีกขาดหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีลมรั่วที่รอยต่อระหว่างคอหัวจ่ายกับท่อลมหรือไม่
โดยทั่วไปแล้วปัญหาแอร์ไม่เย็นมากกว่า 90% จะเกิดจากปัญหา
อุณหภูมิลมจ่ายสูงเกิน หรือปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไป
หรือเกิดจากทั้งสองอย่างพร้อมกัน
ดังนั้น เมื่อตรวจสอบตามรายการข้างต้นแล้วก็น่าจะพบสาเหตุ
ของปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องต่อไป
แอร์4
ที่มา: บทความโดย คุณธีระชัย แสงกระจ่าง
วารสารสมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย ฉบับที่ 14