วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซ่อมแอร์ คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน(คอมเพรสเซอร์ไม่มีเสียงฮัม)

ซ่อมแอร์ คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน(คอมเพรสเซอร์ไม่มีเสียงฮัม)
Enter Air Online มีทีมติดตั้งแอร์บ้านที่ได้มาตรฐานติดตั้งสวยงามเก็บงานเรียบร้อย พร้อมรับประกันการติดตั้งแอร์บ้าน 120 วัน ซื้อแอร์บ้านทุกรุ่นแถมฟรีรางครอบท่อหรือขาแขวนคอยล์ร้อน ซื้อแอร์บ้านผ่านเน็ต กับ Enter Air Online สบายใจใด้ ติดตั้งแอร์บ้านเสร็จแล้วชำระเงิน อยากติดตั้งแอร์บ้าน โทร 08-9242-3621 เรายังมีบริการ ล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ย้ายแอร์ ราคายุติธรรม ไม่เอาเปรียบลูกค้า ด้วยสุภาษิต ที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คตกินไม่นาน"


สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ – สวิทซ์ของเครื่องปรับอากาศยังไม่ได้เปิดหรือเปิดไม่ครบถ้วย (บางตัวอยู่ในตำแหน่ง off) ไม่มีฟิวส์ หรือฟิวส์ขาด โอเวอร์โหลดตัดวงจร (Trips) ระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่นรีโมทคอนโทรลมีปัญหาขัดข้อง ปรับตั้งเทอร์โมสตัทที่อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้เทอร์โมสตัทตัด ติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิในตำแหน่งที่โดนลมเย็นจากเครื่องเป่าลมเย็นโดยตรง วงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้องหรือเกิดการลัดวงจร ปิดสวิทซ์ที่จ่ายไฟให้เครื่องปรับอากาศให้ครบทุกตัว (สับสวิทซ์ให้อยู่ในตำแหน่ง on) ใส่หรือเปลี่ยนฟิวส์

วิธีการแก้ไข – ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการตัดวงจรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย เปลี่ยนหรือซ่อมแก้ไขระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง ปรับตั้งเทอร์โมสตัทให้อุณหภูมิทำความเย็นต่ำลง เปลี่ยนตำแหน่งติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิใหม่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนลมเย็น ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องปรับอากาศ amena

เครื่องปรับอากาศ

Amena แอร์
-แอร์ มาตรฐาน มอก. 2134/2545

-เครื่องปรับอากาศ เทคโนโลยี Super Long Fiow (รุ่น WXT33-WXT48) ทดแทนแอร์ตั้งแขวน ส่งลมเย็นไกล 12 เมตร

-เครื่องปรับอากาศ ระบบฟอกอากาศ HCS-SP (นาโนเทคโนโลยี)

-เครื่องปรับอากาศ เทคโนโลยี AICS ช่วยลงเสียงคอยล์ร้อนใ้ห้ีเงียบลง

-เครื่องปรับอากาศ ควบคุมการทำงานด้วยรีโมทคอนโทรลไร้สาย

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
การเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ถูกหลักการแล้วจะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นของระบบเครื่องปรับอากาศดีขึ้นและลดปัญหาการเกิดเสียงดังได้ด้วย
-          ในการเลือกสถานที่สำหรับติดตั้งมีข้อควรคำนึงดังนี้
1.    ติดตั้งแล้วไม่ทำให้เกิดเสียงดังมาก
2.    ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางระบายลมร้อนของเครื่องควบแน่น
3.    สถานที่ติดตั้งชุดเป่าลมเย็น จะต้องดูดเป่าลมเย็นให้หมุนเวียนในห้องปรับอากาศได้ดี
4.    ท่อทางเดินน้ำยาที่ต่อระหว่างชุดเครื่องเป่าลมเย็น และชุดเครื่องควบแน่น ไม่ควรยาวเกินกว่าที่กำหนด
5.    ท่อน้ำทิ้งจากชุดเครื่องเป่าลมเย็น ควรถ่ายเทได้สะดวก

-          ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมดังนี้
1.    บริเวณที่มีน้ำมันเครื่อง ซึ่งอาจกระเด็นถูกตัวเครื่องปรับอากาศได้ เช่น บริเวณโรงงานซ่อมเครื่องยนต์ เป็นต้น
2.    บริเวณที่มีการรั่วของก๊าชติดไฟได้ หรือสารเคมีบางชนิด ซึ่งอาจทำให้เครื่องเสียหาย และมีอายุการใช้งานน้อยลง
-          ข้อแนะนำในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเบื้องต้น
- เครื่องเป่าลมเย็น (Fan coil Unit) ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางส่งลมเย็น การติดตั้งท่อทางเดินน้ำยาและท่อน้ำทิ้งควรจะสั้นและง่าย ควรติดตั้งบนฐานหรือผนังที่แข็งแรง และควรติดตั้งให้มีความสูงอยู่ระหว่าง 150 – 180 เซนติเมตร
- เครื่องควบแน่น (Condensing Unit) ควรหลีกเลี่ยงการถูกแดดหรือฝนการระบายความร้อนต้องสะดวก และต้องตั้งบนฐานที่แข็งแรง

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้น้ำยาแอร์ R-407C ทดแทน R-22 ในระบบเครื่องปรับอากาศ

แอร์16
เทคโนโลยี เครื่องปรับอากาศ ได้ถูกสร้างขึ้นและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาแต่ในช่วงไม่นานมานี้เริ่มมีการรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งน้ำยา แอร์ ที่เราเคยใช้กัน เช่น R-11, R-12, R-22, R-502 นั้น เมื่อเกิดการรั่วซึมหรือปล่อยทิ้งในชั้นบรรยากาศแล้วเกิดการสะสมในชั้นบรรยากาศมากๆ จะเกิดผลกระทบต่อโลกมากขึ้นตามลำดับ

ในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะการเปลี่ยนมาใช้น้ำยา แอร์ R-407C ทดแทน R-22 ซึ่งจะกล่าวถึงคุณสมบัติของน้ำยา แอร์ R-407C, ความดันและอุณหภูมิ ประสิทธิภาพในการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ และการทดแทนกับอุปกรณ์เดิมซึ่งใช้ R-22
แอร์15
คุณสมบัติของน้ำยา แอร์ R-407Cเกิดจากการผสมของ HFC-32/HFC-125/HFC-134a23/25/52% โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นสารไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ODP = 0 (Ozone Depletion Potential) ซึ่งตามสนธิสัญญามอนทริออลบังคับให้ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้ว ยกเลิกการผลิตน้ำยาที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ เช่น CFC-12 ในปี พ.ศ. 2553 และต้องลดกำลังการผลิตลงเป็นลำดับ R-407C มีชื่อทางเคมีว่า Difluoromethane/Pentafluoroethane/Terafluoroethane สูตรทางเคมี มีค่าการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก GWP (Global Warming Potential) ต่ำที่สุดคือ 1600 เมื่อเทียบกับน้ำยา แอร์ R-22 = 1700 และ R-410A = 1890
R-407C มีคุณสมบัติเป็นสารผสมแบบซีโอโทรปิค Zeotropic Blend คือ ที่ความดันค่าหนึ่งสารนี้จะมีจุดเดือดเป็นช่วง ๆ ไม่เหมือนสารเดี่ยว เช่นน้ำยา แอร์ R-22 ที่ความดันค่าหนึ่งก็จะมีจุดเดือดที่อุณหภูมินั้นเพียงค่าเดียว
แอร์14
จุด Dew Point ใช้ในการอ่านค่าความดันหรืออุณหภูมิที่เป็นไออิ่มตัว Saturated Vapor Pressureหรือ Superheat อ่านค่าความดันจากจุดนี้ที่อุณหภูมิน้ำยาแอร์ มากกว่า 100C (500F)จุด Bubble point ใช้ในการอ่านค่าความดันหรืออุณหภูมิที่เป็นของเหลวอิ่มตัว Saturated Liquid Pressure หรือSubcooling อ่านค่าความดันจากจุดนี้ที่อุณหภูมิน้ำยาต่ำกว่า 100C (500F)
Temperature Gllde หรือ การเดือดเป็นช่วงอุณหภูมิ เนื่องจากน้ำยา แอร์ R-407C เกิดจากการผสมหลายชนิดจึงทำให้สารผสมที่มีจุดเดือดต่ำกว่าเกิดการระเหยก่อนชนิดอื่น แต่ได้มีการทดสอบในห้องปฎิบัติการเพื่อทดสอบการรั่วของน้ำยา แอร์ R-407C ที่อุณหภูมิต่าง ๆ แล้วพบว่าการแยกตัวของสารผสมนั้นมีผลน้อยมากกับประสิทธิภาพของ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากสารผสมของ 407C นั้น มีจุดเดือดที่ใกล้เคียงกันมากและเมื่อมีการรั่วที่อุณหภูมิที่เราใช้งานตามปกติ เช่น250-400 C นั้น สารผสมดังกล่าวจะเดือนและระเหยตัวได้หมดแล้ว
ความดันและอุณหภูมิ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานได้ทันที อ้างอิงค่าที่ 100 Cที่จุด Dew point และ Bubble point เป็นหลักในการหาค่าความดันจากตารางความดันจะเห็นได้ว่า High Side ของน้ำยา แอร์ R-407C จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้กับน้ำยา แอร์ ดังกล่าวต้องมีความแข็งแรงเพียงพอ จุดเชื่อมต่ออาจเกิดการรั่วซึมได้ง่ายกว่าเดิม แต่นี้เป็นจุดเสียเพียงจุดเดียวของน้ำยา แอร์ R-407C
ประสิทธิภาพในการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ เมื่อมีการเปลี่ยนอุณหภูมิคอยล์เย็นใช้คอมเพรสเซอร์ตัวเดิม
แอร์13
แอร์12
จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ จะเปลี่ยนแปลงหากอยู่ในช่วง High – Medium Temp อาจลดลงประมาณ 10 – 15% หากเป็นงาน Low temp อาจลดลงถึง 20% ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำยา แอร์ ต้องระวังในจุดนี้ด้วย มิฉะนั้นอาจทำให้มีผลต่ออุณหภูมิที่ต้องการได้
การทดแทนกับอุปกรณ์เดิมซึ่งใช้น้ำยา แอร์ R-22
1.Compressor ควรเช็ค Cooling Capacity, Heat Rejection Power Input กับ Supplier หรือจาก Selection Program ว่าเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
2.Lubricantเนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นของคอมเพรสเซอร์เดิมเป็นแบบ Mineral Oilซึ่งใช้ได้กับน้ำยา แอร์ R-12, R-22 นั้น ไม่สามารถนำมาใช้กับน้ำยา แอร์ R-407C, R-134a, R-410A ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันชนิดใหม่คือเป็นน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ชนิด POE Polyesters Oil
3.Thermostatic Expansion Valve จากค่าของความดันลดคร่อมวาล์วจากตารางความดัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหาก High Side สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรเช็คความสามารถของวาล์วด้วยว่ายังใช้ได้อยู่หรือเปล่า แต่โดยมากมักใช้ TXV ของน้ำยา แอร์ R-22 แทนได้เลย เนื่องจากมีการชดเชยค่ากันได้ หรือสามารถปรับแต่ง Superheat ได้เช่นกัน
4.Refrigerant Piping จะได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย แต่โดยรวมมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไปจากเดิม
5.Uni Cooler, Condenser. นอกจากคอมเพรสเซอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจะต้องตรวจสอบสมรรถนะและล้างระบบให้สะอาดก่อนเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์และน้ำยาใหม่ การเช็คประสิทธิภาพการทำความเย็นของอุปกรณ์และเปลี่ยนความร้อน ทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ Selection Program เพียงแต่เปลี่ยนชนิดน้ำยา แอร์ จาก R-22 เป็น R-407C ค่าต่างๆ ที่ต้องการเช่น .Cooling capacity, Heat Reject, Power Input ก็จะแสดงมาให้ครบ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำอย่างไร เมื่อแอร์ไม่เย็น

แอร์1
ข้อแนะนำสำหรับการตรวจสอบแอร์วิธีง่ายๆ แต่ได้ผลด้วยตัวท่านเอง
ในช่วงฤดูร้อน ปันหาที่มารบกวนใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของอาคารต่างๆ
มากที่สุดคือ การได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าแอร์ไม่เย็น "ฮัลโหล
ฝ่ายช่างไช่ไหมครับ ตอนนี้แอร์ไม่เย็นเลย ห้องทำงานประธานฯ
ร้อนจะตายอยู่แล้ว ช่วยมาดูขึ้นมาดูเดี๋ยวนี้ได้ไหม"
 แอร์3
เสียงตามสายแจ้งแอร์ไม่เย็นมักจะมีอารมณ์ไม่เย็นแฝงมาด้วย
เพราะอากาศรอบๆตัวก็ไม่เย็น แถมยังโดนเจ้านายอารมณ์เสียใส่
อีกต่างหาก เมื่อได้รับแจ้งแอร์ไม่เย็น สิ่งที่ช่างเกีอบทุกคนต้องดู
เป็นสิ่งแรกคือเทอร์โมสตาตตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าตั้งสูงเกินไป
ก็ปรับลดลงมา ก็เป็นอันหมดปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่โชคดีขนาดนั้น
เพราะเทอร์โมสตาต มักถูกจะตั้้งไว้อยู่้ที่ 22-23 องศาเซลเซียส
(หรือต่ำกว่า) แต่อุณหภูมิในห้องยังสูง 29-30 องศาเซลเซียสอยู่
มาถึงตอนนี้ช่างเกีอบทั้งร้อยก็จะตั้งเทอร์โมสตาตต่ำลงไปอีก
บางที่ก็บิดกันจนสุด โดยมีความหวังเล็กๆน้อยๆว่ามันจะช่วยให้เย็น
ขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วมันไม่ช่วยอะไร เพราะถ้าเครื่องปรับอากาศ
ปกติดีอยู่ ก็จะต้องทำความเย็นตามที่ตั้งไว้เดิมได้อยู่แล้ว ไม่ต้องมาตั้งกัน
ลงไปอีก ถ้าท่านเคยพบปัญหาลักษณะนี้ บทความนี้อาจช่วยท่านได้ในการ
ในการตรวจสอบไปที่ละขั้นตอน เพื่อให้รู้แน่ว่าปัญหาแอร์ไม่เย็น เกิดจาก
อะไรกันแน่ แล้วจะแก้ไขถูกจุด เหมือนกับเกาได้ถูกที่คัน
เมื่อพบปัญหาแอร์ไม่เย็นให้เริ่มตรวจสอบตามหัวข้อดังนี้
ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย
การตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายทำได้โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์
ถ้าจะให้ดีควรเป็นแบบดิจิตอล ซึ่งจะวัดได้แม่นยำและรวดเร็วกว่า
วิธีการวัดควรจะวัดให้ใกล้กับหน้ากากจ่ายลมเย็นให้มากที่สุด ถ้าจะให้ดีควรยืน
เข้าไปวัดในหน้ากากจ่ายลมเลย แต่ต้องระวังไม่ให้หัววัดสัมผัสกับหน้ากาก
การตรวจสอบ
1.ถ้าวัดได้ 10-15 ํC ถือว่าปกติ
2.ถ้าวัดได้สูงกว่า 15 ํC ถือว่าสูงกว่าปกติ ให้ตรวจสอบดังนี้
การตรวจสอบทั่วไป
- ตรวจสอบว่ามี flesh airm เข้ามากเกินไปหรือไม่
- ตรวจสอบว่าท่อลมกลับรั่ว และดูดลมร้อนเข้ามาหรือไม่
- ตรวจสอบว่าในช่องฝ้า หรือในจั่วมีรอยรั่วให้ลมร้อนเข้ามาหรือไม่
ในกรณีที่ดุดลมกลับเหนือฝ้า
แอร์แบบ Spilt type
- ตรวจสอบว่าน้ำยาหมดหรือไม่
- ตรวจสอบว่าคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนสกปรกหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางทางระบายลมร้อนหรือไม่
- ตรวจสอบว่าลมร้อนถูกดูดย้อนกลับหรือไม่
แอร์แบบน้ำเย็น
-ตรวจสอบอัตราไหลของน้ำเย็นว่าตรงตามข้อกำหนดหรือไม่
(ปกติจะต้อง 24 gmp/ตัน)
- ตรวจสอบว่าอุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องว่าสูงกว่าข้อกำหนดหรือไม่
(ปกติจะมีค่า 45 ํF)
- ตราจสอบว่าคอยล์สกปรกหรือไม่
หากตรวจสอบตามรายการด้านบนแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ
ก็อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องปรับอากาศมีขนาดทำความเย็นไม่เพียงพอ
หรือเครื่องมีขนาดเล็กเกินไปนั้นเอง ทั้งนี้ขอให้ตรวจสอบ
ปริมาณลมจ่ายในข้อถัดไป และแก้ไขให้มีลมจ่ายมาขึ้น
ก็อาจจะทำให้ห้องเย็นขึ้นได้ หากเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปไม่มากนัก
ตรวจสอบปริมาณลมจ่ายของแอร์
การวัดปริมาณลมจ่ายทำโดยวัดความเร็วลม แล้วนำไปคูณกับพื้นที่
ของหน้ากากจ่ายลมของแอร์ เครื่องวัดความเร็วลมมีหลายแบบ
แต่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องแบบใบพัด ซึ่งมีความแม่นยำและราคาไม่แพง
สำหรับหน้ากากลมขนาดใหญ่ ควรวัดความเร็วลมหลายๆจุด
แล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน สำหรับหัวจ่ายลมติดเพดาน จะสะดวกกว่า
ถ้าทำกรวยไปครอบแล้วต่อคอลงมาถึงระดับที่วัดได้ง่าย
แอร์2
การตรวจสอบ
ตรวจสอบปริมาณลมว่าน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่มีแบบ
หรือข้อกำหนดให้พิจารณาดังนี้
1. ห้องทั่วไป ควรมีปริมาณลมจ่าย 15-30 cfm/ตารางเมตร
2. ห้องติดริมกระจก ควรมีปริมาณการจ่ายลม 30-40 cfm/ตารางเมตร
เมื่อพบว่าปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปให้ตรวบสอบดังนี้
- ตรวจสอบว่าแผงกรองอากาศของแอร์อุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบว่าความเร็วรอบของพัดลมต่ำกว่ากำหนดหรือไม่
หรือตรวจสอบว่าสายพานสลิปหรือไม่
- ตรวจสอบว่าลมไปออกห้องอื่นๆมากเกินหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีท่อลมรั่วตามตะเข็บรอยต่อหรือไม่หรือไม่
- ตรวจสอบว่าท่อลมอ่อนฉีกขาดหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีลมรั่วที่รอยต่อระหว่างคอหัวจ่ายกับท่อลมหรือไม่
โดยทั่วไปแล้วปัญหาแอร์ไม่เย็นมากกว่า 90% จะเกิดจากปัญหา
อุณหภูมิลมจ่ายสูงเกิน หรือปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไป
หรือเกิดจากทั้งสองอย่างพร้อมกัน
ดังนั้น เมื่อตรวจสอบตามรายการข้างต้นแล้วก็น่าจะพบสาเหตุ
ของปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องต่อไป
แอร์4
ที่มา: บทความโดย คุณธีระชัย แสงกระจ่าง
วารสารสมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย ฉบับที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครื่องปรับอากาศหน้าต่างและแยกระบบหน่วย AC

เครื่องปรับอากาศหน้าต่างและแยกระบบหน่วย AC
หน้าต่างอากาศหน่วยดำเนินการเครื่องปรับอากาศที่สมบูรณ์ในพื้นที่ขนาดเล็ก หน่วยงานที่ทำมีขนาดเล็กพอที่จะพอดีกับกรอบหน้าต่างที่เป็นมาตรฐาน คุณปิดหน้าต่างลงบนตัวเครื่องเสียบในและเปิดรับอากาศเย็น ถ้าคุณใช้ฝาครอบออกจากหน่วยหน้าต่างปีถอดออกคุณจะพบว่ามันประกอบด้วย :
คอมเพรสเซอร์
วาล์วขยายตัว
ขดลวดร้อน (ด้านนอก)
ขดลวดเย็น (ภายใน)
สองแฟนคอยล์
หน่วยควบคุม
เป่าอากาศแฟนมากกว่าขดลวดเพื่อปรับปรุงความสามารถในการกระจายความร้อน (ที่อากาศภายนอก) และเย็น (เพื่อการระบายความร้อนด้วยห้องพัก)
เมื่อคุณได้รับในขนาดใหญ่การใช้งานเครื่องปรับอากาศ, เวลาในการเริ่มต้นมองหาที่หน่วยแยกระบบ เครื่องปรับอากาศแบบแยกระบบการแยกทางด้านความร้อนจากด้านเย็นของระบบเช่นเดียวกับในแผนภาพด้านล่าง
ด้านเย็นประกอบด้วยวาล์วขยายตัวและขดลวดเย็นอยู่ทั่วไปในตัวจัดการเตาหรืออากาศอื่น ๆ บางอย่าง อากาศที่พัดจัดการอากาศผ่านขดลวดและเส้นทางการบินทั่วทั้งอาคารโดยใช้ชุดของท่อที่เป็น ด้านร้อนของหน่วยกลั่นที่รู้จักกันเป็นชีวิตด้านนอกอาคาร
หน่วยประกอบด้วยขดลวดที่มีความยาวเกลียวที่มีรูปร่างเหมือนทรงกระบอก ภายในขดลวดพัดลมจะเป่าผ่านขดลวดในอากาศพร้อมกับคอมเพรสเซอร์อากาศทนและควบคุมตรรกะบางอย่าง วิธีการพัฒนากว่าปีนี้ได้เพราะต้นทุนต่ำและยังเพราะผลในการลดเสียงรบกวนภายในบ้านตามปกติ (ที่ค่าใช้จ่ายของเสียงอยู่นอกบ้านที่เพิ่มขึ้น) อื่น ๆ กว่าความจริงที่ว่าทั้งร้อนและเย็นจะแยกออกจากกันและความจุสูง (ทำให้ขดลวดและคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่) ที่มีความแตกต่างระหว่างเครื่องปรับอากาศแบบแยกระบบและหน้าต่างไม่ได้

ในคลังสินค้า, สำนักงานธุรกิจขนาดใหญ่ห้างสรรพสินค้าห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และอาคารขนาดใหญ่อื่น ๆ , หน่วยกลั่นปกติชีวิตบนหลังคาและสามารถค่อนข้างมาก หรืออาจจะมีหน่วยงานขนาดเล็กจำนวนมากบนหลังคาภายในแต่ละที่แนบมากับตัวจัดการอากาศเย็นขนาดเล็กที่เป็นพื้นที่เฉพาะในอาคารครับ
ในอาคารขนาดใหญ่และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารหลายชั้นที่วิธีการแยกระบบจะเริ่มทำงานเป็นปัญหา ทั้งการทำงานระหว่างท่อควบแน่นและการจัดการอากาศที่เกินกว่าข้อ จำกัด ระยะทาง (ทำงานจะยาวเกินไปที่เริ่มต้นที่จะทำให้เกิดความลำบากในการหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์) หรือจำนวนเงินของการทำงานของท่อและความยาวของท่อจะกลายเป็นไม่สามารถจัดการได้ ณ จุดนี้ถึงเวลาที่จะคิดเกี่ยวกับระบบน้ำเย็น

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คอมเพรสเซอร์ แอร์

คอมเพรสเซอร์ หรือ เครื่องอัดแก๊ซสารทำความเย็น (อังกฤษ: Gas compressor)
เครื่องอัดแก๊ซสารทำความเย็น เพื่อทำให้แก๊ซมีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะถ่ายความร้อนให้กับหรือน้ำหมุนเวียนได้อย่างเหมาะสม

หน้าที่ของคอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่น้ำยาแอร์สถานะแก๊ส ให้แก๊สมีอุณหภูมิ
ขึ้นสูงถึงระดับที่จะถ่ายความร้อนให้กับอากาศ หรือน้ำได้ และสารทำความเย็นจะคืนสู่สถานะเหลวเพื่อหมุนเวียนตามวัฏกรรมอีก
ประเภทของคอมเพรสเซอร์
เครื่องอัดแก๊ซสารทำความเย็นที่ใช้มากมี 3 ประเภทคือ
  1. แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
  2. แบบแรงหมุน (Rotary Compressor)
  3. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal Compressor)

การเติมน้ำยาแอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศใหม่

ในการเติมน้ำยาแอร์ สิ่งที่ต้องพิจารณาให้ความสำคัญอันดับแรกได้แก่ ข้อมูลขอลบริษัทที่ผลิตเครื่องปรับอากาศนั้นๆ ที่จะต้องระบุจำนวนน้ำยาแอร์ที่บรรจุเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ ในเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี จะมีการบรรจุน้ำยาแอร์มาให้ในปริมาณที่พอดี ไว้ในคอนเดนเซอร์ พร้องทั้งระบุความยาวของท่อน้ำยาแอร์ที่ต่อกับเครื่องตัวนอกและเครื่องตัวในไว้ด้วย ในการติดตั้งถ้าใช้ความยาวท่อเกินขอบเขตที่ผู้ผลิตที่ระบุไว้จำเป็นต้องบรรจุสารทำความเย็น(น้ำยาแอร์)เพิ่มเข้าไปจำนวนเท่าไรต่อความยาวท่อที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เมตร บริษัทผู้ผลิตจะระบุมาในคู่มือติดตั้งเครื่องปรับอากาศรุ่นนั้นๆ

ในกรณีที่เครื่องปรับอากาศไม่มีน้ำยาแอร์บรรจุอยู่ ผู้ที่ทำการติดตั้งหรือผู้ที่ทำการซ่อมเครื่องจำเป็นต้องน้ำยาแอร์เข้าไปในระบบและจะต้องบรรจุน้ำยาแอร์ในปริมาณที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมาให้

การเติมน้ำยาแอร์วิธีเติมเติมยังไงเติมแบบติดตามตอนต่อไปมี่นี้เร็วๆนี้

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธุรกิจบริการเครื่องปรับอากาศ

  ประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนเกือบตลอดทั้งปี และนับวันจะร้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากภาวะโลกร้อน ประกอบกับราคาเครื่องปรับอากาศไม่แพงนัก ทำให้ยอดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยในช่วงหนึ่งปีแรกบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องปรับอากาศจะรับประกันการดูแลรักษาล้างเครื่องปรับอากาศให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจากหนึ่งปีแล้วผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษาเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องมีการล้างเครื่องปรับ
อากาศปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือนต่อครั้ง เพื่อให้เครื่องปรับอากาศสามารถให้ความเย็นและอากาศที่สะอาด ซึ่งจากการที่มีผู้ใช้แอร์กันมากขึ้นโดยที่ บ้านหนึ่งหลังอาจมีเครื่องหลายเครื่อง ทำให้ผู้ให้บริการบำรุงรักษา/เครื่องปรับอากาศมีจำนวนไม่เพียงพอ บางครั้งต้องรอคิวนานโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นธุรกิจบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศจึงยังคงมีอนาคตที่ดีเป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าลงทุน โดยผู้ที่สนใจทำธุรกิจนี้ควรมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
รู้เรื่องแอร์

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

น้ำหยดจากเครื่องเป่าลมเย็น(แอร์มีน้ำหยด)

ปัญหาแอร์มีหยดน้ำออกมาจาเครื่องตัวใน
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้
  • ติดตั้งเครื่องตัวในไม่ได้ระดับ
  • ปลายท่อที่ต่กับถาดน้ำทิ้งมีสิ่งสกปกอุดตัน
  • ถาดน้ำทิ้งมีรอยรั่ว
  • มีน้ำรั่วจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องปรับอากาศ
วิธีการแก้ไข
ตั้งเครื่องให้ได้ระดับและให้ถาดน้ำลาดลงไปในทิดทางการไหล
ทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง ใช้วัสดุอุดรอยรั่ว
หยดน้ำอาจเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำด้านนอกตัวเครื่องเนื่องจากความชื่นภายในห้องมาก
หลักพื้นฐานในการปรับอากาศ

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิธีแก้ไขเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน

แอร์หรือเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้
  • ฟิวส์ขาดหรือไม่มีฟิวส์
  • สายไฟขาดหรือหลวม
  • แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
  • สวิทช์ควบคุมขัดข้องหรือชำรุด
วิธิการแก้ไข
เปลื่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่ ตรวจหาตำแหน่งที่ไฟฟ้ารัดวงจร
ตรวจแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่สายไฟก่อนเข้าสวิทซ์ ถ้าวัดแล้วแรงเคลื่อนถูกต้อง
แต่แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ผ่านสวิทซ์มีค่าน้อยไม่ถูกต้อง ให้เปลี่ยนสวิทซ์ใหม่
อ่านแล้วอาจดูง่ายแต่การซ่อมเครื่องปรับอากาศยังมีอาการเสียอีกมากโปรดติดตามตอนต่อไป
ช่างแอร์ที่ดีควรเป็นอย่างไร

การแก้ไขข้องขัดข้องโดยทั่วไปของแอร์หรือเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

ยินดีต้อนรับสู่ Blog Note Air บล็อกสำหรับคนซ่อมแอร์หรือผู้สนใจเกี่ยวกับการซ่อมแอร์
ในปัจจุบันแอร์หรือเครื่องปรับอากาศนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปแล้ว เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ มีใช้กันแทบทุกบ้าน ใช้ในการเก็บรักษาและถนอมอาหารอาหาร ใช้ปรับอากาศเพื่อความสบายของมนุษย์ ดังนั้นงานบริการซ่อมเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศจึงมีมากเพิ่มเรื่อยๆ
ช่างแอร์ในอุดมคติ